บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตังอย่างในการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีเพื่อการรสื่อสารในชีวิตประจำวัน

Moso

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

LOSO HISO ก็ MOSO ได้เหมือนกัน

  


         โครงการสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “LOSO HISOก็ MOSO ได้เหมือนกัน” ขึ้น  โดยนำแนวความคิด สังคมพอประมาณ (Moderation Society)  หรือ โมโซ (MOSO)  ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบันมาเป็นประเด็นหลักในการจัดเสวนาครั้งนี้ เพื่อสร้างทัศนคติใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในทุกๆวัน  เริ่มจากการทำทุกอย่างให้อยู่ในความพอดี รู้จักขีดความสามารถของตัวเอง ไม่ทำอะไรเกินตัว รู้จักที่จะใช้ "เหตุผล"มากขึ้น เรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป มีการไตร่ตรองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียได้อย่างชัดเจนซึ่งจะก่อให้เกิด "การมีภูมิคุ้มกัน"  ต่ออุปสรรคและปัญหาที่จะเข้าถึงตัวเราและที่สำคัญคือการมีความรู้และคุณธรรม ควบคู่กันตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป      
  
                                             


        โครงการนี้จัดขึ้นโดยนิสิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ  ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2552  ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา 
ตึก 1 ชั้น 4  คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




เป็น ปีที่สองของกิจกรรม “ เสื้อยืดพอประมาณ ” หรือ ที-เชิ้ต เฟสติวัล หนึ่งในกิจกรรมดีๆ ของโครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การดูแลของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ต้องการให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้าถึงประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่และสมาธิโซโมไทยดอทคอมที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติ ในอนาคต
      

งาน นี้จัดขึ้นที่อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ก่อน ส่วนคอนเซ็ปต์การดีไซน์เสื้อยืด ก็คือ “ I Love My King, I Love My Queen ”  เพื่อเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติ “ คู่ฟ้า  สองพระบารมี ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเนื่องในปีมหามงคล มีทั้งเหล่าเด็กแนวและผู้สนใจทั่วไป มาสร้างสรรค์ลวดลายตามคอนเซ็ปต์บนเสื้อยืดกันอย่างสนุกสนาน ได้เห็นแต่ละไอเดียล้วนเก๋ไก๋ตามสไตล์ชาวโมโซ ชนิดไม่ต้องหรูก็  “ โดน ”  ผลงานของใครที่โดดเด่นเข้าตากรรมการก็ถูกนำไปจัดแสดงบนแผงเสื้อขนาดใหญ่ ยักษ์ ซึ่งเป็นจุดแลนด์มาร์คของงาน ให้ชื่นชมกันถ้วนทั่วก่อนจะลงคะแนนตัดสินพร้อมมอบรางวัลให้แก่เจ้าของสุดยอด ไอเดียโดย พลโทสุรศักดิ์  กาญจนรัตน์  ผู้อำนวยการสำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน.

และไม่ได้มีแต่ เพียงชาวโมโซ วันนั้นยังมีหนุ่มหล่อสาวสวยอย่าง ตูน-หนิม เอเอฟ, คริส  หอวัง มาโชว์ฝีมือวาดลวดลายบนเสื้อยืดร่วมกับน้องๆ แถมยังใจดีนำเสื้อที่ใช้แล้วมาบริจาคเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างประโยชน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดของโมโซ-สังคมพอประมาณ “ สังคมของคนรุ่นใหม่ ”
 
    

     

กลุ่มโมโซโรงเรียนศรีอยุธยา 
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ฯ กับการทำกิจกรรม ร่วมเป็นชาวโมโซ
ด้วยการปลูกฝัง DNA โมโซและให้สัญญาว่าจะเป็นชาวโมโซที่ดีของสังคม
ในงานบูรณาการของโรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ฯ




     


     





 


    การ เป็นชาวโมโซที่ดีควรเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ต้องมัวรอคนอื่น ทำตัวให้เป็นแบบอย่าง  แล้วจึงไปชักชวนคนอื่น  ขยายวงไปเรื่อยๆ  โดยตัวอย่างกิจกรรมของชาวโมโซที่สามารถเชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมได้โดย สมัครใจ มีอย่างเช่น การสอนให้รู้จักบริหารค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วยบัญชีแก้มลิง (ดูรายละเอียดที่เว็บ http://www.kaemling.com/) หรือการบริจาคสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วให้แก่ชาวโมโซท่านอื่นได้ใช้ประโยชน์ ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์ (ดูรายละเอียดที่เว็บ http://www.bangkokfreecycle.com/)




    ถ้า ยังอยู่ในวัยเรียน การทำตัวเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ตั้งใจเรียนหนังสือ ช่วยเหลืองานบ้าน และรู้จักประหยัด ก็ถือว่าได้ปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของชาวโมโซแล้ว ส่วนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน การเป็นส่วนหนึ่งของชาวโมโซ คือ การมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน รู้จักการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม ไม่โลภ และไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น รวมไปถึงการทำตัวเป็นพลเมืองดีของสังคมช่วยเหลือและแบ่งปันกับผู้ที่ด้อย โอกาสกว่า




    เนื่อง จากสภาพสังคมในปัจจุบัน  มีสิ่งยั่วยุทางวัตถุมากมาย ที่ทำให้เกิดการแข่งขันไปในทางอยากมี  อยากได้  อยากเป็น  เน้นบริโภคนิยม ด้วยเชื่อว่า ยิ่งได้บริโภคมาก ยิ่งมีความสุขมาก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด อันที่จริงแล้ว ความสุขของชาวโมโซ มิได้เกิดจากการซื้อของกินของใช้ราคาแพงๆ มาบริโภค หรือต้องจับจ่ายใช้สอยให้มากๆ แต่ชาวโมโซเชื่อว่า ความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการบริโภคอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เป็นไปตามอัตภาพ และความสุขของชาวโมโซ ยังเกิดจากการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น การเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้แก่คนรอบข้าง รวมถึงเป็นความสุขที่เกิดจากการทำงานในหน้าที่อย่างบริบูรณ์ เป็นความสุขที่เกิดจากจากการเรียนอย่างพากเพียรอุตสาหะอีกด้วย

    แนว คิดโมโซไซตี้มาจากการสำรวจทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาและคนรุ่น ใหม่ โดยมีโจทย์ว่า หากจะร่วมกันสร้างสังคมที่มีแนวปฏิบัติสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะมีรูปแบบในการขับเคลื่อนอย่างไรที่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ต้องการจะเห็น ซึ่งผลการสำรวจเผยให้เห็นโครงแบบที่เปิดกว้าง มีอิสระและเสรีภาพในการเลือกที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยมีพี่เลี้ยงในกลุ่มคอยให้คำแนะนำ มีสมาชิกในกลุ่มที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน 
 

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงกบ

เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์

 
   



เงินลงทุน      ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ

รายได้          ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท

วัสดุ/อุปกรณ์              แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต

แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ

            ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป

วิธีดำเนินการ
          1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

          2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด

         3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
การเพาะพันธุ์กบ              ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก


การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน

            เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต            เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้

ตลาด/แหล่งจำหน่าย            ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร

สถานที่ให้คำปรึกษา
          1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
          2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ
ข้อแนะนำ
          1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ  ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ
          2. การเลี้ยงกบ  ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
          3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
          4.  อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว  สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
          5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่




การเลี้ยงหมูหลุม