บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตังอย่างในการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีเพื่อการรสื่อสารในชีวิตประจำวัน

Moso

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม MoSo


ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีมหามงคล เนื่องจากเป็นโอกาสครบ ๖๐ ปี แห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์ โครงการคิดอย่างยั่งยืนฯ โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จึงได้จัดและร่วมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการน้อมนำพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่มีต่อพสกนิกรไทยมาเผยแพร่ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม
 เจาะใจวัยโจ๋ กับกิจกรรม “ เสื้อยืดพอประมาณ ” เป็นที่แน่นอนว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ตลอดจนบรรดาโมโซทั้งหลาย พร้อมเป็นหนึ่งในการมีส่วนร่วมเพื่อปลูกฝังแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้กับ สังคมโครงการคิดอย่างยั่งยืนฯ โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จึงขยายผลกิจกรรมเสื้อยืดพอประมาณอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ๖ ด้วยเนื้อหาที่เน้นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

เมื่อเร็วๆนี้ พลโท สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน. เป็นประธานเปิดงานจัดกิจกรรม “ เสื้อยืดพอประมาณ ที่-เชิ้ต เฟสติวัล ครั้งที่ ๖ ”  ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

สำหรับรูปแบบการจัดงานนั้น แบ่งออกเป็นการเสริมสร้างกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชน และการสานต่อวิธีคิดและการใช้ชีวิตแบบโมโซ บรรยากาศคึกคักด้วยวัยใส วัยโจ๋หลั่งไหลเข้างานพร้อมกระทบไหล่เหล่าบรรดาศิลปิน ดารา และนักออกแบบชื่อดังเต็มอัตรา ที่พากันมากระจายรายได้ในมหกรรมเสื้อยืดพอประมาณ ภายใต้แนวคิดคู่ฟ้า สองพระบารมี งานนี้จึงเป็นมหกรรมเสื้อยืดที่รวบรวมเอาเสื้อหลากลวดลาย หลายสไตล์ ไม่ซ้ำใคร มาไว้ในงานเดียวกัน พร้อมด้วยศิลปิน ดาราที่ตบเท้ามาร่วมงานคับคั่งภายในบูธโมโซ อาทิ ก้อย รัชวิน, คริส  หอวัง, ตูนและหนิม AF และอีกมากมาย รวมถึงผู้ที่มาลงทะเบียนเป็นชาวโมโซ ก็จะได้รับของที่ระลึกอย่างเสื้อภูฟ้า ซึ่งเป็นเสื้อยืดฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือหนังสือดีๆ อย่างหนังสือเทิดพระเกียรติ  “ คู่ฟ้า  สองพระบารมี ” ที่มาแจกจ่ายภายในงานอีกด้วย

อีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความสนใจไม่ น้อย คือ บูธ MOSO Donate ที่ตอกย้ำสำนึกแห่งความพอเพียง และการแบ่งปันด้วยการเปิดช่องทางให้ผู้ร่วมงาน รวมถึงศิลปินดารา นำเสื้อยืดที่ไม่ใช้แล้วมาบริจาค เพื่อสร้างมูลค่าและสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นต่อไป

ปีนี้เพิ่มความพิเศษที่เปิดโอกาสให้ส่งเสื้อประกวดในหัวข้อ I Love My King I Love My Queen ที่ได้รับความสนใจจากทั้งผู้ร่วมงานทุกวัยและร้านค้าต่างๆ ส่งผลงานสร้างสรรค์สุดสวยสุดเท่เข้าประกวดมากมาย โดยได้รับเกียรติจาก พลโท สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นผู้มอบรางวัลชนะเลิศจำนวน 10,000 บาท ให้กับผู้ชนะการประกวดก่อนจะไปมันกับอาคูสติก คอนเสิร์ตจากหลากหลายศิลปินอีกด้วย

พร้อมสร้างเครือข่าย “ คิดอย่างยั่งยืน ” ทั่วประเทศ

การ จัดกิจกรรมต่างๆ นั้น นอกจากจะเป็นการแสดงความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็น สถาบันหลักของชาติแล้ว โครงการคิดอย่างยั่งยืนฯ ยังมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมโยงใกล้ชิดระหว่างเยาวชนกับสถาบันพระมหา กษัตริย์ ด้วยวิธีการร่วมสมัย และเป็นที่สนใจของเยาวชน

การรณรงค์ เผยแพร่พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทั้งสองพระองค์ทรงรับเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นพระราชภาระในการที่ จะขจัดทุกข์บำรุงสุขให้พสกนิกรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นภารกิจที่สำคัญ เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดภูมิภาคกันทางความคิดที่เข้มแข็งตามแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นผลสำเร็จในวงกว้าง พัฒนาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถต่อยอดด้วยการสร้างเครือข่ายภาคีพัฒนาในการรณรงค์ และการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่างๆ โดยผ่านผู้นำความคิด ผู้นำชุมชน และผู้นำเยาวชนทั่วประเทศ







การเป็นสมาชิกกับชาว MoSo

โม โซไซตี้ ถูกออกแบบให้เป็นเครือข่ายเปิด ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีการตั้งองค์กรมาควบคุมดูแล ไม่มีคณะกรรมการผู้มีอำนาจหน้าที่ในเครือข่าย หากผู้ใดมีวิถีปฏิบัติที่อยู่ในแนวทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถเรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวโมโซ” ได้โดยไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ ชาวโมโซมีคติพจน์ประจำใจ ที่จำง่ายๆ คือ “เน้นสติ เหนือสตางค์” ซึ่งหมายถึง การมีสติในการใช้จ่ายเงิน และการใช้ชีวิต



 ถ้า ยังอยู่ในวัยเรียน การทำตัวเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ตั้งใจเรียนหนังสือ ช่วยเหลืองานบ้าน และรู้จักประหยัด ก็ถือว่าได้ปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของชาวโมโซแล้ว ส่วนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน การเป็นส่วนหนึ่งของชาวโมโซ คือ การมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน รู้จักการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม ไม่โลภ และไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น รวมไปถึงการทำตัวเป็นพลเมืองดีของสังคมช่วยเหลือและแบ่งปันกับผู้ที่ด้อย โอกาสกว่า


  การ เป็นชาวโมโซที่ดีควรเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ต้องมัวรอคนอื่น ทำตัวให้เป็นแบบอย่าง  แล้วจึงไปชักชวนคนอื่น  ขยายวงไปเรื่อยๆ  โดยตัวอย่างกิจกรรมของชาวโมโซที่สามารถเชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมได้โดย สมัครใจ มีอย่างเช่น การสอนให้รู้จักบริหารค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วยบัญชีแก้มลิง หรือการบริจาคสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วให้แก่ชาวโมโซท่านอื่นได้ใช้ประโยชน์ ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์

จุดเริ่มต้นของ MoSo

จุดเริ่มต้นของ  MoSo
 แนว คิดโมโซไซตี้มาจากการสำรวจทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาและคนรุ่น ใหม่ โดยมีโจทย์ว่า หากจะร่วมกันสร้างสังคมที่มีแนวปฏิบัติสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะมีรูปแบบในการขับเคลื่อนอย่างไรที่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ต้องการจะเห็น ซึ่งผลการสำรวจเผยให้เห็นโครงแบบที่เปิดกว้าง มีอิสระและเสรีภาพในการเลือกที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยมีพี่เลี้ยงในกลุ่มคอยให้คำแนะนำ มีสมาชิกในกลุ่มที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน 

มุมมองของชาวMoSo
       อย่า เข้าใจผิดว่าชาวโมโซจะแยกตัวไปสร้างสังคมใหม่ ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ชาวโมโซเห็นว่า  สังคมปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่สภาพที่ไม่น่าพึงปรารถนา  ก็เลยมีภารกิจร่วมกันที่จะช่วยกันเปลี่ยนทิศทางของสังคมให้มีความน่าอยู่ ขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ กลุ่มโมโซจะมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตนเอง ชาวโมโซในแต่ละพื้นที่จึงสามารถร่วมกันคิดออกแบบกิจกรรมเพื่อให้มีความเหมาะ สมกับสภาพท้องถิ่นของตนเอง ตลอดจนการเปิดกว้างที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงานอื่นที่มีความ สอดคล้องกับหลักการของชาวโมโซ และเมื่อเวลาผ่านไป กิจกรรมต่างๆ ของชาวโมโซก็จะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นธรรมชาติ โดยปราศจากการจัดตั้งใดๆ


บุคคลิกของชาว MoSo
     เนื่อง จากสภาพสังคมในปัจจุบัน  มีสิ่งยั่วยุทางวัตถุมากมาย ที่ทำให้เกิดการแข่งขันไปในทางอยากมี  อยากได้  อยากเป็น  เน้นบริโภคนิยม ด้วยเชื่อว่า ยิ่งได้บริโภคมาก ยิ่งมีความสุขมาก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด อันที่จริงแล้ว ความสุขของชาวโมโซ มิได้เกิดจากการซื้อของกินของใช้ราคาแพงๆ มาบริโภค หรือต้องจับจ่ายใช้สอยให้มากๆ แต่ชาวโมโซเชื่อว่า ความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการบริโภคอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เป็นไปตามอัตภาพ และความสุขของชาวโมโซ ยังเกิดจากการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น การเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้แก่คนรอบข้าง รวมถึงเป็นความสุขที่เกิดจากการทำงานในหน้าที่อย่างบริบูรณ์ เป็นความสุขที่เกิดจากจากการเรียนอย่างพากเพียรอุตสาหะอีกด้วย

 

ความหมายของ Moderation Society

   Moderation Society หรือเรียกย่อๆ ว่า MO-SO (โมโซ) คือ “สังคมพอประมาณ” หรือ 
 สังคมชั้นกลาง ที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการเดินทางสายกลาง ซึ่งในปัจจุบันท่าม
 กลางกระแสสังคมบริโภคนิยม ต่างมีสิ่งยั่วยุมากมายทางวัตถุ ให้เกิดความอยากมี อยากได้
 อยากแข่งขันกันมากขึ้น ดังนั้นสังคมโมโซ จึงเป็นสังคมอันพึงปราถนา ที่ชาวโมโซจะร่วมกัน
 สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยความจริง ความดีงาม และความสุข

   ค่านิยมที่กำหนดโดยชาวโมโซไซตี้ คือ สังคมอันพึงปรารถนาที่สมาชิกชาวโมโซทุกคนจะร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยความจริง ความดีงาม และความสุข มีการวางแนวทางขับเคลื่อนไว้ 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นกายภาพในเชิงสัญลักษณ์ และระดับพฤติกรรมที่เริ่มตั้งแต่จิตสำนึก

  ในเชิงสัญลักษณ์ ชาวโมโซทุกคนจะมีสายข้อมือที่เป็นเอกลักษณ์ สายข้อมือแต่ละเส้นจะมีเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อใช้เข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มโมโซต่างๆ โดยความมุ่งหมายของการใส่สายข้อมือ คือ การทำให้มีสติเตือนใจผู้ใส่ว่าควรอยู่ในความพอประมาณ และให้มีความตั้งใจว่าจะเป็นคนรู้จักคิดก่อนใช้ ตามคติพจน์ของชาวโมโซว่า “เน้นสติ เหนือสตางค์”

  


   ในเชิงของการสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชาวโมโซจะร่วมกันคิดออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและพื้นที่ ตลอดจนการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงานอื่นที่ดำเนินการอยู่แล้วและมี ความสอดคล้องกับหลักการของชาวโมโซ ซึ่งจะทำให้กิจกรรมต่างๆ ของชาวโมโซมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
 
   ปัจจุบัน โมโซไซตี้ มีโครงการนำร่องที่ดำเนินงานร่วมกับกลุ่ม YIY ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ใช้ความคิด ของตัวเองในการริเริ่มทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน โรงเรียน และครอบครัว ในแบบฉบับของตัวเองด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม คือ โครงการ “มือใหม่หัดทำดี” (First Hand Out)